ประวัติบุคคลสำคัญทางคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศ

Dr. John V. Atanasoff
ดร. จอห์น วี. อะทานาซอฟฟ์
(1903-1995 )
ผลงานเด่น : ABC ,คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก
จอห์น วี. อะทานาซอฟฟ์ (John V. Atanasoff) เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1903 ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ท่านเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นคนแรก คือเครื่อง ABC เมื่อปี ค.ศ. 1937 (ก่อนหน้านี้เป็นคอมพิวเตอร์แบบเครื่องจักรกล) ในขณะนั้นเขาอาจไม่รู้ว่าผลงานของเขาจะมีบทบาทต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในอนาคตมากมายขนาดนี้ เขาได้เปิดประตููสู่ยุคคอมพิวเตอร์ีให้กับคนรุ่นหลังได้พัฒนาต่อยอดมาจนกลายเป็น คอมพิวเตอร์ในปัจุบัน
ท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1995

Charles Babbage
ชาร์ลส์ แบบเบจ
บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
(1791-1871)
ผลงาน : เครื่องคำนวณหาผลต่าง differential machine และเครื่องวิเคราะห์ analytical machine
Charles Babbage (26 ธันวาคม 1791 – 18 ตุลาคม 1871) เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาวิเคราะห์ และเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาเป็นคนแรก ที่มีแนวคิดเรื่องเครื่องคำนวณที่สามารถโปรแกรมหรือสั่งให้ทำงานได้ เครื่องในจินตนาการของเขายังไม่เสร็จสมบูรณ์ เขาก็เสียชีวิตก่อนที่จะได้เห็นความฝันของเขาเป็นจริง ปัจุบันนี้ผลงานของเขาไว้ถูกเก็บและแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ลอนดอน ผลงานนั้นคือเครื่องคำนวณหาผลต่าง (Difference Engine) และเมื่อปี 1991 นี้เองที่เครื่องหาผลต่างนี้ถูกสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ตามแบบที่ Babbage ได้ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าเครื่องจักรจากแนวคิดของเขาทำไงานได้จริงแล้ว
ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage) เกิดที่อังกฤษ ในครอบครัวของนายธนาคาร และเติบโตมาในยุคที่อังกฤษเป็นประเทศที่มีอำนาจ และกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนทุนพัฒนาในสาขาต่างๆ อย่างเต็มที่ แบบเบจศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ ทรินิตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่คณะคณิตศาสตร์ (Mathematical Laboratory)
ช่วงเป็นนักศึกษา เขารวมกลุ่มกับเพื่อน ทำ induction of the Leibnitz notation for the Calculus ขึ้นจนมีชื่อเสียง ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอน พอเรียนจบ แบบเบจก็ตัดสินใจเป็นอาจารย์ต่อที่คณะ ในปี ค.ศ. 1814, แบบเบจสมรสกับ Geogiana Whitmore นักคณิตศาสตร์หญิงคนเก่งคนหนึ่งในยุคนั้น
ในทางคณิตศาสตร์ แบบเบจเน้นศึกษาด้านแคลคูลัสเป็นพิเศษ. ปี ค.ศ. 1816 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellow ของ Royal Society ปี ค.ศ. 1820 เค้าตั้งชมรมด้านดาราศาสตร์ขึ้น พร้อมๆ กับเริ่มทำงานวิจัยสำคัญของเค้าในยุคต้น ที่ทำให้เค้าโด่งดังมากคือ Difference Engine (ใช้ Newton's method of successive differences) ในปี ค.ศ. 1828 แบบเบจได้รับแต่งตั้งให้เป็น the Lucasian Chair of Mathematics at Cambridge (เหมือนกับ เซอร์ ไอแซค นิวตัน และ สตีเฟ่น ฮอว์คิง) ต่อมา แบบเบจขยายงานมาศึกษาเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) เพื่อสร้างเป็น เครื่องจักรที่สามารถรองรับการคำนวณทุกชนิด (ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์) แต่ก็เป็นเพียงทฤษฏีเท่านั้น เพราะเค้าไม่สามารถสร้างออกมาในช่วงที่เค้ามีชีวิตอยู่ เนื่องจากมีคนไม่เห็นด้วยมากมาย เพราะความคิดเค้าทันสมัยเกินกว่าเทคโนโลยีในยุคนั้น จนทุกๆ คนคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ จึงโดนตัดงบวิจัยในปี ค.ศ. 1832 แต่แบบเบจก็ฝืนทำต่อแบบไม่มีงบ จนทำไม่ไหว จนต้องปิดโครงการนี้ไป ในปี ค.ศ. 1842
แบบเบจชอบไฟมาก ขนาดลองเอาเตาอบมาอบตัวเองเล่นที่ 265 องศาฟาเรนไฮด์เป็นเวลา 5-6 นาที หรือพยายามปีนภูเขาไฟเวเซเวียส (Mt. Vesevius) เพื่อที่จะไปดูลาวาเดือดๆ
เครื่องคำนวณหาผลต่างของ Babbage นี้ทำงานโดยอาศัยเครื่องจักรกล (สมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้) ประกอบด้วยฟันเฟืองหลาย ๆ ตัวเป็นตัวขับเคลื่อน เครื่องนี้ใช้ในการหาค่าของฟังก์ชันโพลิโนเมียล (Polynomial) ออกมาเป็นเป็นตาราง ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ผลต่าง (สามารถหาค่าของฟังก์ชันลอการิทึม (logarithm function) และ ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric function) ได้ด้วยเนื่องจากฟังชันก์ทั้งสองนี้สามารถประมาณค่าโดยฟังก์ชันโพลิโนเมียลได้)
Tim

ทิม เบอร์เนอร์ส- ลี
ผลงาน : พัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยี เวิร์ล ไวด์ เว็บ (World Wide Web : www)
Tim Berners-Lee หรือ TBL เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1955 เขาเป็นผู้ก่อตั้งเทคโนโลยี world wide web (www) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าเว็บ (Web) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดระเบียบข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตไว้เป็นหมวดหมู่ (บทเรียนที่ผู้เรียนกำลังเรียนอยู่นี้ก็เป็นเว็บครับ) ปัจจุบันนี้ (2005) Tim Berners-Lee เป็นผู้อำนวยการสมาคม World Wide Web Consortium หรือ W3C- http://www.w3.org สมาคมนี้มีขึ้นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเว็บให้มีศักยภาพสูงสุด ด้วยการตั้งข้อกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ให้คำแนะนำ พัฒนา เทคโนโลยีใหม่ ๆ โปรแกรม เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการใช้เว็บเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต

Daniel Bricklin
แดน บริคลิน
เกิดปี 1951 ที่สหรัฐอเมริกา
ผลงาน: โปรแกรมตารางคำนวณวิสิแคลค์ Visicalc
แดเนียล บริคลิน (Dan Bricklin) เกิดเมื่อปี 1951 เขาได้รับปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่สถาบันเอ็มไอที (MIT) เมื่อปี 1973 และจากนั้นก็ได้ทำงานที่บริษัท DEC โดยทำงานด้านพัฒนาโปรแกรมประมวลผลข้อความ บริคลินได้เรียนต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อจบแล้วได้ก่อตั้งบริษัทร่วมกับเพื่อนคือ บ๊อบ แฟรงสตัน (Bob Frankston) ในปี 1979 ชื่อบริษัทคือ Software Art และนำโปรแกรมตารางคำนวณ Visicalc ออกสู่ตลาด ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก นอกจากนี้เขาได้ตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์อื่น ๆ และให้คำปรึกษาด้านซอฟต์แวร์อีกด้วย
Vinton Cerf
วินตัน เซิร์ฟ
วินตัน เซิร์ฟ (Vinton Cerf) เรียนจบปริญญาตรีสาขาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัย UCLA เขาเป็นสมาชิกขององค์กร IEEE (นิยมอ่านว่า ไอ ทริปเปิ้ล อี) และ ACM
ผลงานที่สำคัญของวินตันนั้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต เขาได้ร่วมพัฒนารูปแบบการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า โปรโตคอล TCP/IP
Seymour Cray
เซมัวร์ เครย์
เกิด ปี 1925 ที่วิสคอนซิน USA
เสียชีวิต ปี 1996 ที่โคโลราโด USAผลงาน: ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครย์ 1 (CRAY I)
ในปี 1972 เซมัวร์ เครย์เครย์ ได้ก่อตั้งบริษัท Cray Research เพื่อออกแบบและสร้างคอมพิวเตอร์ที่สมรรถนะสูงที่สุดในโลก ็คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์พิเศษที่มีชิพไมโครโพรเซสเซอร์จำนวนมาก ช่วยกันประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ทำงานได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป เครื่องแรกของเขาชื่อเครื่องเครย์-1 สร้างสำเร็จในปี 1976 และเครื่องเครย์-2 ได้ถูกสร้างตามมาในปี 1985 ซึ่งเร็วขึ้น 10 เท่า
Edsger Wybe Dijkstra
เกิด วันที่ 11 พ.ค. 1930 ชาวเนเธอร์แลนด์
เสียชีวิต วันที่ 6 สิงหาคม 2002
ผลงาน : วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (หนังสือชุด ศิลปะแห่งการเขียนโปรแกรม, อัลกอริธึม) การเข้ารหัสขอมูล
Edsger Wybe Dijkstra เกิดในเมืองรอตเตอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี 1930 ทุกคนในครอบครัวล้วนเป็นบุคคลผู้ทรงความรู้ บิดาเป็นนักเคมีและมารดาเป็นนักคณิตศาสตร์ ตอนอายุได้ 12 ขวบ ท่านก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีปัญญายอดเยี่ยม ตอนอายุ 15 ปีท่านมีความคิดอยากจะเรียนกฎหมาย แต่ท่านได้คะแนนดีในวิชาเคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ ท่านจึงตัดสินใจเรียนฟิสิกเชิงทฤษฎีส์ที่มหาวิทยาลัย Leiden ขณะที่เรียนท่านได้ทำงานพิเศษที่ศูนย์คณิตศาสตร์ในอัมส์เตอร์ดาม และนั่นเองที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ท่านสนใจในการเขียนโปรแกรม ทันที่ที่เรียนจบท่านก็อยากจะทำในสิ่งที่ท่านอยากทำคือเขียนโปรแกรม แต่การเขียนโปรแกรมยังไม่เป็นที่นิยมและชื่นชมในสมัยนั้น ท่านจึงยอมเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์เชิงทฤษฎี อย่างไรก็ตามท่านก็ไม่ได้ทิ้งงานที่ศูนย์คณิตศาสตร์ จนกระทั่งท่านได้ทำงานที่บริษัท Burroughs ในสหรัฐอเมริกา ท่านได้รับรางวัล ACM Turing Award ในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของบุคคลในวงการคอมพิวเตอร์ และท่านได้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสในปี 1984
ในปี 1956 ท่านได้คิดอัลกอริทึมหรือวิธีการหาระยะทางที่สั้นที่สุดหรือดีที่สุด "shortest-path algorithm" อัลกอริทึมนี้ช่วยในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการเดินทางระหว่างสองจุดหรือสองที่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายงานเช่น การออกแบบวงจรไฟฟ้าให้ใช้สายทองแดงสั้นที่สุด และด้วยวิธีนี้เองทำให้วิศวกรสร้างคอมพิวเตอร์ ARMAC ในเวลาต่อมา สายทองแดงสั้น นั่นหมายถึงระยะเวลาในการส่งสัญญาณไฟฟ้าสั้นลงด้วย ภายหลังแนวความคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้กับการออกแบบวงจรภายในหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ เพื่อเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์เอง หรือแม้แต่ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายซึ่งต้องหาเส้นทางเพื่อที่จะส่งข้อมูลได้เร็วที่สุดเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น